FRW
|
|
« ตอบ #90 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:02:41 AM » |
|
แล้วก็ดูนี่สิครับ ระบบป้องกันเพลิงไหม้ของปั๊มน้ำมันบ้านเค้า
ระหว่างที่รอเติมน้ำมัน พวกเราบางคนก็ย่องไปถ่ายนกแถวๆปั๊ม ก็อย่างที่บอกครับ ว่าที่นั่น นกเยอะมาก จากนั้นเราก็เดินทางกันต่อโดยที่ไม่มีคำอธิบายใดๆจากไกด์ทั้งไทยทั้งแขก
พูดถึงเรื่องไกด์ อยากจะบอกว่า ไปเที่ยวรอบนี้ เราทุกคนเหมือนไปกันเองมากกว่า เพราะว่าไกด์ไม่ได้อธิบายอะไรเลย แล้วพฤติกรรมของไกด์ไทยกับไกด์แขกคือ พอขึ้นรถได้ ก็ยึดที่นั่งที่อยู่ด้านหน้า นั่งคู่กัน กระหนุงกระหนิงคลอเคลียร์หยอกล้อกันเองสองคน ไม่สนใจใครๆทั้งนั้น วันแรกๆ พวกเราก็คิดว่า เราคงคิดมากกันไปเองที่เห็นเค้าสองคนเหมือนคู่รักกัน แต่พอล่วงเข้าวันที่สอง มันก็เริ่มชัดขึ้นเพราะว่า นอกจากเวลาที่ขึ้นรถจะนั่งคู่คลอเคลียร์กันแล้ว เวลาที่ถึงจุดหมายเจ๊แกจะคว้าไมค์มาบอกว่า "ถึงแล้วค่ะ" แค่นี้จริงๆ แล้วไกด์ทั้งสองคนก็โดดลงจากรถไปก่อน เกี่ยวก้อยกันเดินเข้าไปในสถานที่ท่องเที่ยวโดยไม่มีเหลียวหลังหันกลับมาดูว่า ลูกทัวร์นะมากันไหม เดินหลงทางกันไหม มีปัญหาอะไรไหม แต่เค้าสองคนก็เกี่ยวก้อยกระหนุงกระหนิงชี้ชวนกันดูโน่นนี่ตามประสาคู่รักโดยไม่สนใจว่า ลูกทัวร์ต้องการคำอธิบายเรื่องความสำคัญของสถานที่นั้นๆ อยู่บนรถก็ไม่มีการอธิบายใดๆ ลงจากรถ มันก็ไปเดินของมันกันเองสองคน เจริญล่ะ บริษัททัวร์นี้ เพราะฉะนั้น ใครรู้เรื่องอะไรตรงไหน ก็ต้องเล่ากันเองในหมู่พวกเราครับ
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #91 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:07:08 AM » |
|
เข้ามาในเขตกรุงราชคฤห์ มองออกไปนอกหน้าต่างรถ เห็นวิวเป็นภูเขาที่แทบจะหาต้นไม้ใหญ่ไม่ได้เลย หยิบกล้องถ่ายผ่านกระจกรถที่ไม่ค่อยจะสะอาดเท่าไร ก็เลยได้ภาพมาอย่างที่เห็นแหละครับ
ราชคฤห์ มหานครแห่งแคว้นมคธ เป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งในอินเดียโบราณ ตั้งอยู่ในทิศบูรพาของชมพูทวีป มีราชาที่ชื่อพระเจ้าพิมพิสารปกครองอยู่ ทรงมีน้ำพระทัยที่เปิดกว้างสนับสนุนนานาศาสนา ทุกลัทธิ ในแว่นแคว้นของพระองค์ เพราะเหตุว่า สมณะชีพราหมณ์เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา การค้าขาย รวมถึงศาสนาด้วย ที่นี่จึงมีเจ้าลัทธิต่างๆมากมายที่เข้ามาตั้งสำนักเผยแผ่ลัทธิของตน
กรุงราชคฤห์ยังเป็นที่ประชุมสังคายนาเป็นครั้งแรกในพุทธศาสนา โดยเริ่มประชุมกันตั้งแต่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 หลังพระศาสดาเสด็จปรินิพพาน 3 เดือน มีพระอรหันต์ 500 รูป มีท่านมหากัสสปะมหาเถระเป็นประธาน มีพระเจ้าอชาติศัตรูทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ โดยพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอุปาลีเป็นผู้วิสัชชนา การสังคยานารอบนั้นได้สิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 รวมเวลาที่ใช้สังคายนาทั้งหมด 7 เดือน จากคุณูปการอันยิ่งใหญ่ครั้งนั้นของพระอรหันต์ 500 รูป เราจึงเหลือเป็นพุทธมรดกตกทอดให้ชาวโลกทุกหมู่เหล่าได้รับรสพระธรรมต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #92 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:09:43 AM » |
|
พอไกด์คว้าไมค์ เราก็รู้กันแล้วว่า ถึงแล้วค่ะ
พอรถจอด เราก็ต้องเจอกับกองทัพวณิพก เสียงร้องเรียก มหาราชา...มหารานี..... หรือไม่ก็ อาจารย์..... ดังระงม แต่บางแห่ง เห็นสาวๆ สว.ในกลุ่มของพวกเรา เค้าจะเปลี่ยนสรรพนามให้ใหม่ว่า มาดาม แต่ความที่เค้าเป็นแขกหรือเปล่าไม่ทราบ การพูดลิ้นจึงรัวเร็วๆ พวกเราหลายคนเลยฟังเป็น หมาดำๆ หุๆ มันน่าให้มั๊ยเนี่ย...
ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนๆในอินเดีย เราก็จะต้องเจอกับขอทานเหล่านี้ครับ ขนาดจอดรถข้างทางเพื่อยิงกระต่าย พอรถจอดยังไม่ทันสนิทดี พวกเค้าไม่รู้ว่ามาจากไหนมายืนแบมืออยู่ข้างรถเราแล้ว แทบจะไม่กล้าลงไปยิงกระต่ายเลย
ต้องทำใจ คิดซะว่า มันเป็นสีสันอย่างหนึ่งก็แล้วกัน ดีเหมือนกัน มาอยู่ที่นี่สองวัน ได้เป็นถึง มหาราชา ฮ่าๆๆๆ
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #93 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:27:41 AM » |
|
ไปดูรอยล้อเกวียนกันดีกว่าครับ
จากรอยที่เห็นนั้น มันผิดจากที่ผมคาดคะเนไปเยอะครับ ผมมัวแต่ไปคิดว่าเกวียนเดินบนดินหรือทราย แต่ที่นี่รอยล้อเกวียนมันเดินอยู่ลานหิน และด้วยความที่มันเดินซ้ำรอยเดิมอยู่ทุกวี่ทุกวันด้วยจำนวนที่มากมายมหาศาล จึงทำให้ลานหินกร่อนลงไปเป็นร่องตามล้อเกวียน รอยของมันจึงอยู่ในสภาพที่คงทนมาจนถึงทุกวันนี้
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
DarkCamera
สมาชิกใหม่
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 0
|
|
« ตอบ #94 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 12:58:05 PM » |
|
ตอดตามมาเรื่อยๆครับพี่ ได้ทั้งภาพสวยๆแถมความรู้ด้วยยยยย
|
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #95 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:14:47 PM » |
|
ตอดตามมาเรื่อยๆครับพี่ ได้ทั้งภาพสวยๆแถมความรู้ด้วยยยยย ขอบคุณครับ
หลังจากนั้นเราก็เดินทางต่อไปที่เขาคิชฌกูฏ ระหว่างทางเราก็ผ่านชีวกัมพวัน ที่นายแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์ หมอประจำราชสำนักพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าอชาติศัตรูมีศรัทธาสร้างถวายให้เป็นสังฆารามพระพุทธองค์ และเคยเป็นที่ถวายการพยาบาลพระบรมศาสดา หรือที่เรียกขานกันว่า "โรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกของโลก" เรื่องของหมอชีวกมีเรื่องเล่ากันว่า........
ประชาชนจำนวนมากเป็นโรคเรื้อน โรคมงคร่อ โรคกลาก โรคหืด และโรคลมบ้าหมู พวกนี้เมื่อทราบว่าในกรุงราชคฤห์มีหมอผู้เชี่ยวชาญชื่อว่า ชีวก โกมารภัจจ์ สามารถบำบัดรักษาโรคเหล่านี้ให้หายขาดได้ จึงพากันไปหา แต่หมอก็ปฏิเสธไปหมดเนื่องจากรักษาโรคจำพวกนี้จนเบื่อหน่าย แต่หากพระสงฆ์เป็นโรคดังกล่าว หมอชีวกจึงรับรักษาให้ฟรี
เมื่อคนไข้ต่างผิดหวังจึงปรึกษากันว่า ถ้าอย่างนั้นพวกเราก็พากันไปบวชเถิด เพราะเมื่อบวชแล้ว เราจะได้รับการรักษาโรคให้หายขาดจากนายแพทย์ชีวก เมื่อเป็นเช่นนี้เหล่าคนไข้ต่างก็พากันไปบวชที่วัดเวฬุวันเป็นจำนวนมาก ทำให้วันๆ หมอชีวกต้องวุ่นวายอยู่กับการรักษาพระในวัดจนไปไหนไม่ได้ จนกระทั่งหมอทนไม่ไหวเลยเอาเรื่องนี้ไปกราบทูลให้พระบรมศาสดาทรงทราบและขอพระพุทธานุญาตว่า
"ถ้าหากมีคนที่เป็นโรค 5 อย่างคือ โรคเรื้อน โรคมงคร่อ โรคกลาก โรคหืด และโรคลมบ้าหมู มาขอบรรพชา ขอพระองค์อย่ารับบวชให้เลย" หลังจากที่พระองค์เทศให้หมอชีวกได้เห็นสมาทานอาจหาญและรื่นเริงในกุศลที่หมอได้กระทำไปแล้วนั้นเป็นการดีและสมควรเป็นอย่างยิ่ง แล้วให้ประชุมสงฆ์เรื่องที่นายแพทย์มาทูลขอ เป็นเหตุให้ทรงบัญญัติว่า "ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ขอพวกเธอทั้งหลายจงอย่าให้คนที่เป็นโรค 5 อย่าง คือ โรคเรื้อน โรคมงคร่อ โรคกลาก โรคหืด และโรคลมบ้าหมู อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาบวชอีกเลย ถ้าภิกษุใดให้บวชต้องเป็นอาบัติทุกกฏ " ตั้งแต่นั้นมา พระรุ่นหลังก็ถือเป็นหลักปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ใครก็ตามที่ไปขอบวชเป็นพระสงฆ์ จะต้องถูกพระคู่สวดซักถามว่า เป็นโรคเรื้อนหรือไม่ ดังที่เราได้ยินพระคู่สวด สวดถามนาคก่อนอุปสมบทว่า "กุฏฐํคณโฑ กิลาโส โสโส อปมาโร"
ในรูป เป็นทางขึ้นยอดเขาด้วยกระเช้าไฟฟ้า ทางญี่ปุ่นมาสร้างให้ โดยสร้างวัดญี่ปุ่นอยู้บนยอดเขาด้วย แต่คนละยอดกับเขาคิชฌกูฏ พวกแขกๆเลยอุ้มลูกจูงหลานมาเพื่อนั่งรถกระเช้ากันอย่างสนุกสนาน
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #96 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:32:14 PM » |
|
ในอดีต เมืองราชคฤห์ คงใหญ่โตโอฬาร บัดนี้เหลือเพียงซากปรักหักพังที่โอบล้อมไว้ด้วยภูเขาเบญจคีรี บริเวณส่วนหนึ่งในเขตพระราชฐานที่พระเจ้าอชาติศัตรูราชกุมารกำหนดให้เป็นที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร องค์ราชาผู้เป็นบิดา สถานที่แห่งนั้นเรียกว่า "เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร"
พระเจ้าอชาติศัตรูผู้เป็นโอรสกระทำปิตุฆาต โดยกักบริเวณและให้อดอาหาร เมื่อพระเจ้าพิมพิสารหมดพระราชอำนาจหันเข้าพึ่งพุทธานุภาพ โดยการยืนมองทอดพระเนตรชายจีวรของพระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่มูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ จนสิ้นพระชนในคุกนั้นด้วยพระชนมายุเพียง 52 พรรษา ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 8 ปี
ทั้งเรือนหมอชีวก และคุกพระเจ้าพิมพิสาร บัดนี้เหลือเพียงกองเศษซากอิฐที่กระจัดกระจาย ไม่มีอะไรน่าชม ผมจึงไม่ได้ถ่ายภาพมา แต่ภาพที่ถ่ายมากับเป็นต้นไม้บางชนิดที่กำลังออกดอกและผล ที่เหล่านกกาได้ใช้เป็นอาหารประจำวันของมัน ทั้งต้นแทบจะหาใบไม่เจอเลย เวลานกลงเห็นนกกันแบบจะๆ ไม่มีบังไพรครับ
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #97 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:42:29 PM » |
|
ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ต้องออกแรงเดินด้วยเท้า ไม่มีเครื่องทุ่นแรงเหมือนกับวัดญี่ปุ่นที่อยู่อีกเขา แต่ก็จะมีบางท่านที่เรียกใช้เสลี่ยงแบกขึ้นไปครับ แต่ผมยังไม่ สว. ขนาดนั้น ก็เลยใช้วิธีดั้งเดิม คือเดิน ระหว่างทางอากาศเย็นสบาย ฝูงนกหลากหลายชนิดร่าเริงหากินอยู่ริมทางเดินนั้นเอง เสียแต่ว่า ทุกขั้นบันได จะต้องมีเจ้าของจับจองเป็นแหล่งทำมาหากิน เดินผ่านเค้าก็จะนั่งแบมือร้องว่า มหาราชา... มหาราชา แต่ถ้ามีการล้วงกระเป๋าเพื่อหยิบเศษสตางค์เมื่อไร พวกเค้าก็จะลุกขึ้นแล้ววิ่งเข้ามารุมเราทันที กระโดดฉกเงินไปจากมือของเรา ดีไม่ดี อาจพาเอาเราต้องล้มลงแล้วกลิ้งตกเขาตายก็ได้ ต้องระวังครับ
เจ้าสองตัวนี้ ตัวบนไม่รู้ว่าเป็นนกอะไร น่าจะเป็นนกกระจิบ แต่ตัวล่างน่าจะเป็นนกอีแพรดของที่นั่น
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #98 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:46:02 PM » |
|
แต่ถ้าตัวนี้ เป็นอีกาแน่ๆ
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #99 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 09:46:47 AM » |
|
ระหว่างทางขึ้นสู่ยอดเขาคิชฌกูฏ เจอเจ้าตัวนี้อยู่เป็นฝูง ไม่ทราบว่าเรียกว่าลิงอะไรเหมือนกัน
ที่จริงระหว่างทางขึ้นก็มีจุดที่น่าสนใจและควรเข้าไปมนัสการอยู่อีกสอง-สามแห่ง เช่น ถ้ำพระโมคคัลลานะ เป็นถ้ำที่พักเพื่อสนองงานพระพุทธองค์ขณะที่ประทับที่พุทธวิหารยอดเขาคิชฌกูฏ ถ้ำสุกรขาตา ก่อนจะถึงมูลคันธกุฎี เป็นเพิงลึกเข้าไปพอแค่หลบแดดหลบฝนได้เท่านั้น ลักษณะคล้ายเหลี่ยมคางหมู เล่าว่า ที่นี่เป็นที่ซึ่งพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัด ขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังเทศนา ทีฆนขสูตร ที่พระองค์ทรงแสดงแก่ ทีฆนขปริพาชก จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งหลาย บรรลุเป็นพระอรหันต์ตรงนั้นเอง
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #100 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 09:57:01 AM » |
|
มูลคันธกุฏี เป็นสถานที่สำคัญ เพราะพระพุทธองค์เสด็จมาประทับ ณ.ยอดเขาคิชฌกูฏนี้อยู่เสมอ บริเวณที่ประทับเป็นกุฏิแคบๆ กว้างราว 3 ศอก ยาว 4 ศอกเท่านั้น ซึ่งพระองค์แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของมนุษย์ในเรื่องที่อยู่อาศัยมีเพียงเท่านั้นเอง
ในภาพ พระคุณเจ้าจากเมืองไทย พาญาติโยมทัวร์เข้าไปสวดพระปริต เสร็จแล้วก็ถ่ายรูปกันเป็นที่ระลึก ก็ขอโมทนาบุญด้วยครับ
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #101 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 10:00:24 AM » |
|
และก็เช่นเคยครับ ที่ไหนเป็นสถานที่สำคัญอันพึงสักการะ ที่นั้นก็จะมีชาวทิเบตทำอัษฎางคประดิษฐ์ กราบไหว้
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #102 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 10:02:29 AM » |
|
ลงจากเขามาเราก็เจอกับกลุ่มนักเรียน คาดว่าทางโรงเรียนคงจะจัดให้นักเรียนได้ทัศนศึกษานอกโรงเรียน มากันชุดใหญ่
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
FRW
|
|
« ตอบ #103 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 10:04:14 AM » |
|
เรามาดูภาพ เมืองรถม้าขื่นขมกันดูบ้างครับ ม้าตัวเดียว นั่งกันเข้าไปกี่คน ดูเอาแล้วกัน ใครที่ชอบโกงเงินๆทองๆ ทรัพย์สมบัติคนอื่นเค้าโดยไม่ยอมชดใช้คืน หรือไปหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นที่เค้ามิได้เต็มใจให้ ชาติต่อๆไปก็ต้องไปเกิดเพื่อชดใช้คืนให้เค้า ต้องให้เค้าใช้แรงงานแบบนี้แหละครับ
|
ผู้มีบุญก็เข้ามา หมดวาสนาก็จากไป
|
|
|
|
๐นายสันดาน๐
|
|
« ตอบ #104 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 10:28:06 AM » |
|
แต่เมื่อเช้าผมเห้นน้าหมีควบม้าสีดำน้ำเงิน ไปส่งลุกสาวด้วยครับ อิอิ
|
|
|
|
|
|